ไม่ใช่ว่าเราจะสามารถกินผลไม้ทุกชนิดได้ทั้งหมดหรอกนะคะ โดยเฉพาะกับผู้ป่วยโรคไต เพราะผู้ป่วยโรคไตมักจะมีความบกพร่องในการขจัดโพแทสเซียมออกจากร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะโซเดียมมากเกินไป (hyperkalemia) ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและระบบหัวใจได้
ผลไม้มีประโยชน์มากมาย อุดมไปด้วยวิตามินซี เบตาแคโรทีน ใยอาหาร และแร่ธาตุอื่นๆ การเลือกรับประทานผลไม้ให้เหมาะสมกับโรคนับว่าเป็นการช่วยฟื้นฟูร่างกายได้อีกทางหนึ่ง โดยเฉพาะโรคไต หรือผู้ที่ต้องการบำรุงไต ควรที่จะเลือกรับประทานผลไม้ที่มีส่วนประกอบของโพแทสเซียมต่ำ
เนื่องจากผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำจะช่วยลดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือด ช่วยลดสภาวะน้ำในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติ ลดภาวะบวมน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ด้วย
และโดยส่วนมากผู้ป่วยมักจะเผลอบริโภคโซเดียมจากผลไม้เข้าไปโดยที่ไม่รู้ตัว ดังนั้นสำหรับผู้ป่วยโรคไต จึงควรระมัดระวังในการรับประทานผลไม้เอาไว้ด้วย ซึ่งผลไม้ที่ผู้ป่วยโรคไตกินได้อย่างปลอดภัย ก็มีดังนี้ค่ะ
ผลไม้ที่ผู้ป่วยโรคไตกินได้ ในปริมาณที่เหมาะสม
- มังคุด 3 ผล
- ชมพู่ 2 ผล
- องุ่นเขียว 8-10 ผล
- เงาะ 4 ผล
- มะม่วงดิบ
- สับปะรด 8 ชิ้นคำ
- ลูกแพร์
- แอปเปิล 1/2 ผลกลาง
- พุทรา 2 ผลใหญ่
- ลองกอง 6 ผล
ผลไม้ทั้งหมดนี้จัดอยู่ในกลุ่มผลไม้ที่มีปริมาณโพแทสเซียมต่ำ ซึ่งถือว่าปลอดภัยต่อผู้ป่วยโรคไตที่ควรจำกัดปริมาณโพแทสเซียมให้ไม่เกิน 4.7 กรัมต่อวัน โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง หรือผู้ป่วยโรคไตในระยะท้าย ๆ
และแม้ว่าผลไม้ทุกชนิดมีประโยชน์ในตัวเองก็จริง แต่ทุกสิ่งบนโลกใบนี้ย่อมมีข้อยกเว้น อย่างผลไม้ตามรายการข้างล่างนี้ ที่มีปริมาณโพแทสเซียมค่อนข้างสูง เสี่ยงต่อสุขภาพของผู้ป่วยโรคไต ดังนั้นหากเป็นไปได้ ต้องทานแต่น้อยหรือพยายามหลีกเลี่ยงจะดีกว่า
ผลไม้ต้องห้ามสำหรับผู้ป่วยโรคไต ควรทานอย่างระวัง
- มะเฟือง
- กล้วย
- ส้ม
- แตงโม
- แตงหอม
- มะละกอ
- ลูกท้อ
- มะพร้าว
- ทุเรียน
- มะม่วงสุก
- ขนุน
- มะขามหวาน
- แก้วมังกร
- ฝรั่ง
- ลำไย
- น้อยหน่า
- กีวี
- อินทผลัม
- ลูกยอ
- มะปราง
- แคนตาลูป
- กระท้อน
- ผลไม้อบแห้งทุกชนิด เช่น ลูกเกด ลูกพรุน เป็นต้น
- ผลไม้หมักดองทุกชนิด
- ผลไม้แช่อิ่มทุกชนิด
นอกจากผลไม้เหล่านี้จะมีปริมาณโพแทสเซียมสูงแล้ว ยังอาจมีโซเดียมและน้ำตาลที่อาจส่งผลเสียต่อระบบการทำงานของไตและระบบภายในร่างกายอื่น ๆ ได้ด้วยนะคะ ดังนั้นก็อย่างที่บอกไว้ว่า หากมีภาวะไตทำงานผิดปกติ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผลไม้ดังกล่าวจะดีกว่า
อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงกว่า 5.0 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ควรงดผลไม้ทุกชนิดชั่วคราว นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคไตควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการดูแลสุขภาพโดยรวม เนื่องจากในผู้ป่วยโรคไตแต่ละเคสอาจมีปัจจัยความเสี่ยงอื่น ๆ ที่ควรต้องคำนึงถึงด้วยค่ะ