รู้จัก “ไต” อีกหนึ่งอวัยวะสำคัญที่มักถูกละเลย
ไตเป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วขนาดประมาณ 10-11 ซม. อยู่ด้านซ้ายและขวาบริเวณช่องท้องส่วนเอว และมีหน้าที่หลัก คือ
- ผลิตเม็ดเลือดแดงให้ร่างกาย นั่นทำให้คนที่ไตเสื่อมจะมีผิวซีดหรือคล้ำกว่าปกติ เพราะไตผลิตเม็ดเลือดแดงได้น้อยลง
- ผลิตฮอร์โมนควบคุมความดันในร่างกาย คนที่มีปัญหาไตเสื่อมมักจะความดันโลหิตสูงเพราะไตผลิตฮอร์โมนควบคุมความดันได้ไม่ดีเหมือนเดิม
- ไตช่วยขับถ่ายของเสีย น้ำและสารอาหารส่วนเกินออกจากร่างกาย เช่น โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส ฯลฯ คนที่มีปัญหาไตเสื่อมมักมีระดับไขมันในเลือดสูง
มีหน้าที่ขจัดของเสีย รักษาสมดุลน้ำในร่างกาย เมื่อร่างกายมีน้ำมากเกินไป ไตจะขับน้ำส่วนเกินออก แต่เมื่อร่างกายขาดน้ำ ไตจะพยายามสงวนน้ำไว้ในร่างกาย รักษาสมดุล กรด ด่างและเกลือแร่ในร่างกายให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ ควบคุมความดันโลหิตผ่านการควบคุมสมดุลน้ำและเกลือแร่บางชนิด สร้างฮอร์โมนทำให้ไม่เกิดภาวะโลหิตจาง และควบคุมการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสทำให้กระดูกแข็งแรง
โรคไตเรื้อรังเรียกว่าเป็นปัญหาสำคัญในระบบสาธารณสุขของไทย เพราะเป็นโรคที่มีความชุกเพิ่มขึ้นและส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของผู้ป่วยอย่างมาก
ซึ่งจากข้อมูลของสมาคมโรคไตนั้นบอกว่าในปี พ.ศ.2558 มีผู้ป่วย 75,000 ราย หรือ 1,198 รายต่อประชากร 1 ล้านคนที่ต้องฟอกเลือด ฟอกไตทางช่องท้อง และปลูกถ่ายไตแต่รู้หรือไม่ว่า “โรคไตเสื่อม” ก็มีความรุนแรงไม่แพ้กัน
อาการแบบนี้…คือสัญญาณของ “ไตเสื่อม”
โรคไตเสื่อม คือการที่ไตเสื่อมการทำงานลงอย่างช้าๆและมีการสูญเสียเนื้อไต และมักจะแสดงอาการเมื่อไตเริ่มเสื่อมมากขึ้น อาการที่สังเกตได้มีดังนี้
- ผิวหนังมีสีซีดหรือคล้ำขึ้น อาจมีอาการคันด้วย
- เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน บางรายอาจมีเลือดออกที่ทางเดินอาหาร
- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ขี้หลงขี้ลืม ความจำไม่ดี
- ปวดหัวง่าย จาม คัดจมูก เป็นหวัดง่าย
- ขอบตาคล้ำ ผมหงอก หรือผมร่วงก่อนวัย
- ปัสสาวะสีแดงหรือเข้มขึ้นปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยหลับไม่สนิทหรือนอนไม่ค่อยหลับ
- กล้ามเนื้อกระตุก ปวดตามตัว ปลายเท้าและปลายมือชาเนื่องจากปลายประสาทอักเสบ เป็นตะคริวและชัก
- หากไตวายมาก จะมีการคั่งของเกลือและน้ำ ความดันโลหิตสูง มีอาการบวมเนื่องจากหัวใจวาย บางรายมีอาการเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
ทั้งนี้ ไตเสื่อมนั้นไม่เลือกว่าจะเกิดกับวัยไหน เพราะส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ฉะนั้นหากมีอาการอย่างที่กล่าวมาแล้วล่ะก็ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คว่าไตของเรายังแข็งแรงและทำงานได้ปกติหรือไม่
พฤติกรรมการใช้ชีวิตเป็นสิ่งสำคัญที่อาจทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการอาหารการกิน การใช้ชีวิต การทำงาน หรือแม้แต่การต้องทนอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยแรงกดดัน ฉะนั้น ลองมาดูกันดีกว่าว่า 7 พฤติกรรมแบบไหนที่อาจทำร้าย “ไต” ของเราได้
- ทานอาหารรสจัด
ไม่ใช่แค่รสเค็มจัด แต่อาหารรสจัดรวมไปถึง อาหารหวานจัด เผ็ดจัด หรือแม้กระทั่งมันจัด อาหารรสจัดทำให้ไตทำงานหนักขึ้น จึงมีส่วนทำให้เป็นโรคไตได้เช่นเดียวกันกับอาหารรสเค็ม
- ไม่ออกกำลังกาย
การไม่ออกกำลังกายเป็นสาเหตุของหลายๆ โรค ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน ไขมันอุดตันเส้นเลือด ไขมันพอกตับ เส้นเลือดอุดตัน โรคหัวใจ และอื่นๆ รวมไปถึงโรคไตด้วยเช่นกัน
- ดื่มน้ำน้อย หรือมากเกินไป
การดื่มน้ำน้อยเป็นสาเหตุของหลายๆ โรคเช่นกัน (อ่าน 6 โรคร้ายถามหา ถ้า “ดื่มน้ำน้อย”) รวมไปถึงโรคไตด้วย เพราะไตฟอกของเสียในร่างกาย และต้องใช้น้ำเป็นตัวพาไปสู่การกรองของไตจนกลายเป็นปัสสาวะ หากดื่มน้ำมากเกินไป ไตก็จะทำงานหนักเกินไป แต่หากดื่มน้ำน้อยมากเกินไป (ซึ่งมีโอกาสมากกว่า) ก็จะทำให้ปัสสาวะมีสีเข้ม ซึ่งไม่ดีต่อไต และกระเพาะปัสสาวะด้วย
- ทำงานหนักเกินไป
เชื่อหรือไม่ว่าการทำงานหนักก็เป็นสาเหตุของโรคไตด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อร่างกายขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ อวัยวะภายในร่างกายก็จะไม่ได้รับการฟื้นฟู และซ่อมแซมตัวเองอย่างเต็มที่ด้วยเช่นเดียวกัน เมื่ออวัยวะที่คอยฟอกของเสียในร่างกายอย่างไตไม่ได้หยุดทำงาน ก็อาจทำให้ไตเสื่อมสภาพลงได้ง่าย
- ความเครียด
ความเครียดมักมาพร้อมกับการทำงานหนัก หากเครียดมากๆ ร่างกายก็จะพักผ่อนได้ไม่เต็มที่เช่นเดียวกัน นอกจากนี้เมื่อเราเครียด เราจะหายใจเอาออกซิเจนเข้าร่างกาย เพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ไม่เต็มที่ และไตก็เป็นอวัยวะที่ได้รับผลกระทบจากความเครียดด้วยเช่นกัน
- ทานอาหารสำเร็จรูป
แม้ว่าคุณอาจจะบอกว่าไม่ใช่คนทานเค็ม แต่หากคุณใช้ชีวิตวนเวียนอยู่กับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวกล่องในร้านสะดวกซื้อ อาหารกระป๋องต่างๆ หรือแม้กระทั่งน้ำอัดลม โซดา และเครื่องดื่มบางประเภท คุณจะได้รับโซเดียมเข้าไปในร่างกายในปริมาณสูงโดยที่คุณไม่รู้ตัว ดังนั้นทานให้น้อยลงหน่อยนะ
- ความดันโลหิตสูง
หากใครมีอาการความดันโลหิตสูงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ยิ่งมีโอกาสที่จะเป็นโรคไตตามมาด้วย เพราะหากปล่อยให้เป็นความดันสูงต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่รีบรักษา ความดันโลหิตสูงนี้จะทำลายเส้นเลือดที่ไต ทำให้ไตถูกทำลาย หรืออาจเรียกว่าเป็น “ไตวายชั่วคราว”
รู้อย่างนี้แล้ว ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมดังกล่าว ก่อนที่จะเป็นโรตไตแล้วต้องไปฟอกไตทุกวันนะคะ ขอบอกเลยว่าไม่สนุกแน่ๆ
กินหวาน + กินมัน + กินเค็ม + ความดัน เสี่ยงไตพัง
คนส่วนใหญ่มักเข้าใจกันว่าสาเหตุของการเกิด ‘โรคไต’ นั้นมาจาการกินอาหารที่มีรสเค็มจัดเพียงอย่างเดียว แต่รู้หรือไม่ว่าการกินอาหารที่มีรสหวาน หรืออาหารมัน บวกเข้ากับพฤติกรรมของคนโดยเฉพาะคนเมืองที่ทำงานหนัก มีความเครียด ซ้ำยังไม่ชอบออกกำลังกาย มักกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมาก ทำงานหนัก นอนดึกตื่นเช้า ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูงที่เป็นตัวตั้งต้นของโรคไต
ส่วนโรคเบาหวานนั้นมักมาพร้อมกับภาวะความดันโลหิตสูงและโรคอ้วน ซึ่งในช่วงหลังๆ นี้พบบ่อยและมากขึ้น ซึ่งเป็นที่มาของการพบโรคไตไปโดยปริมาณ หากอธิบายให้เข้าใจ ‘โรคเบาหวาน’ นั้นเป็นโรคที่เกิดจากการมีน้ำตาลในเลือดสูง สะสมไว้ไม่ควบคุมนานๆ 10 – 20 ปีขึ้นก็อาจทำให้เกิดการเส้นเลือดตีบ หากมีเส้นเลือดตีบในไตก็จะเป็นไตวายในที่สุด ส่วนการมีภาวะความดันโลหิตสูงถ้าปล่อยไว้นานๆ เส้นเลือดภายในไตก็จะถูกทำลาย แต่ก็มีความแตกต่างจาก ‘อาการไตวายเฉียบพลัน’ ที่โดยส่วนใหญ่จะทำให้เสียเลือดมาจนช็อก พอไม่มีเลือดไปเลี้ยงไต ไตก็จะหยุดทำงาน เรียกว่า ‘ไตวายชั่วคราว’ ถ้าได้รับการรักษาภายใน 1 – 2 สัปดาห์ ก็ยังมีโอกาสที่ไตจะสามารถฟื้นตัวกลับมาทำงานได้ตามปกติ
แพทย์รู้ได้อย่างไรว่าเป็น ‘โรคไต’
การเดินทางเพื่อไปตรวจหาและรักษาโรคไตกันตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยยับยังความเสื่อมของไตไม่ให้เข้าสู่ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายได้ อีกทั้งยังเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดตามมาได้อีกด้วย
การที่แพทย์จะทราบว่าเราเป็น ‘โรคไต’ หรือ ‘โรคไตวายเรื้อรัง’ หรือไม่ และอยู่ในระยะใดนั้น สามารถทำได้โดยเข้าตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะเพื่อดูปริมาณโปรตีนและจำนวนเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ ตรวจเลือดเพื่อวัดระดับสารครีอะตินีนที่ปกติจะถูกไตกำจัดออกไปทางปัสสาวะ ซึ่งจะถูกนำมาใช้คำนวณอัตราการกรองของไต นอกจากนั้น ในผู้ป่วยบางรายก็จะได้รับการเอกซเรย์ระบบทางเดินปัสสาวะและตรวจชิ้นเนื้อไตเพิ่มเติมด้วย …
GFR นิยมอ่านว่า “จี-เอฟ-อาร์” ย่อมาจาก glomerular filtration rate
glomerular = ตัวกรองของไต
filtration rate = อัตราการกรอง
รวมกัน = อัตราการกรองของไต
ดั้งนั้น GFR ต่ำก็แปลว่า “ไตเสื่อม”
ในกรณียังไม่ถึงขั้น 5 การดูแลสุขภาพ และการเลือกกินอาหาร ออกกำลังกาย รวมทั้งพบแพทย์สม่ำเสมอจะทำให้ท่านไม่ต้อง “ล้างไต” !!!
กรมการแพทย์ห่วงผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ ผู้ที่มีประวัติโรคไตเรื้อรังในครอบครัวผู้ที่ใช้ยาแก้ปวดต่อเนื่องเป็นประจำ สุ่มเสี่ยงโรคไต แนะพบแพทย์แต่เนิ่นๆ หากพบอาการระยะแรก สามารถชะลอไตเสื่อมได้
ผู้มีความเสี่ยงสูงควรได้รับการคัดกรองโรคไตเรื้อรัง คือ
- ผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคแพ้ภูมิตนเองที่อาจก่อให้เกิดไตผิดปกติ โรคติดเชื้อในระบบที่อาจก่อให้เกิดโรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเก๊าท์หรือระดับกรดยูริกในเลือดสูง โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบนซ้ำหลายครั้ง
- ผู้ที่ได้รับยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs หรือสารพิษที่ทำลายไตเป็นประจำ
- ผู้ที่มีมวลเนื้อไตลดลงหรือมีไตข้างเดียว ทั้งที่เป็นมาแต่กำเนิดหรือเป็นภายหลัง
- ผู้มีประวัติโรคไตเรื้อรังในครอบครัว ตรวจพบนิ่วในไตหรือระบบทางเดินปัสสาวะ
- ตรวจพบถุงน้ำในไตมากกว่า 3 ตำแหน่งขึ้นไป
ฉะนั้น ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงข้างต้น ควรได้รับการคัดกรองหากพบในระยะแรกๆ สามารถชะลอไตเสื่อม เพื่อไม่ให้พัฒนาไปสู่โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย
โดยโรคไตเรื้อรังระยะแรกๆ ผู้ป่วยจะยังไม่มีอาการ เรียกได้ว่าเหมือนคนปกติแทบทุกประการเลยทีเดียว ต่อมาเมื่อผู้ป่วยมีการเสื่อมของไตมากขึ้นโดยเฉพาะโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4 หรือระยะที่ 5 จะเริ่มมีอาการหลายๆอย่างเป็นลางบอกเหตุ ได้แก่
- โลหิตจาง/ซีด
- ภาวะความดันโลหิตสูง
- มีความผิดปกติของสมดุลน้ำและเกลือแร่
- มีการคั่งของของเสีย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการบวม
- มีภาวะน้ำท่วมปอด
- ปัสสาวะออกน้อยลง
- มีอาการอ่อนเพลีย
- หอบเหนื่อย
- คลื่นไส้อาเจียน
- ไม่อยากอาหาร
- มีอาการซึม หรืออาการชัก
การรักษาจึงประกอบด้วยยาเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดการบริโภคเกลือโซเดียมและโปรตีน การใช้ยาให้ถูกต้องและการออกกำลังกาย
เมื่อผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีความเสื่อมของไตเข้าช่วงท้ายของโรคไตระยะที่ 4 หรือระยะที่ 5 ซึ่งเป็นระยะที่เริ่มมีอาการแทรกซ้อนต่างๆดังที่กล่าวไปแล้ว แพทย์และพยาบาลจะให้คำแนะนำ และเตรียมความพร้อมสำหรับการบำบัดทดแทนไตเพื่อรักษาอาการแทรกซ้อนต่างๆ และเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นซึ่ง
มีอยู่ 3 อย่างใหญ่ๆ คือ
1.ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม(Hemodialysis)
2.ล้างไตทางช่องท้อง(Peritoneal dialysis)
3.เปลี่ยนไต(Kidney transplant)
ในส่วนของผู้ป่วยที่มีความต้องการล้างไต โดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมนั้น จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเส้นเลือดฟอกไตจากศัลยแพทย์หลอดเลือดเฉพาะทาง ซึ่งมีความสำคัญมาก
เนื่องจากถ้าไม่มีเส้นเลือดเตรียมไว้ท่านจะต้องได้รับการใส่สายฟอกเลือดที่คอ ซึ่งมีอัตราการติดเชื้อที่สูงมากและมีปัญหาภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างตามมา (มักจะได้ยินกันในชื่อเจาะคอเพื่อล้างไต)